วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุปการเรียนการสอนสัปดาห์ที่1 อังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ.2559

สรุปการเรียนการสอนสัปดาห์ที่1  อังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ.2559

  อาจารย์แจกสมุดสีชมพูเพื่อให้บันทึกเนื้อหาสาระสำคัญในส่วนต่างๆในเวลาสอน ชื่อเว็บ ลิ้งต่างๆที่เชื่อมโยงกับสิ่งที่เราต้องสมัตรไว้เข้าใช้ในระหว่างที่เรียนวิชา ARTD2304 Lettring Design การออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์ รวมถึงจดการบ้านที่อาจารย์ได้มอบหมายให้ทำในสัปดาห์ต่อไป 
  อาจารย์ประชิด ทิณบุตร ได้สอนถึงเรื่องของการทำป้ายโฆษณา ป้านแบรนเนอร์ ให้เว็บไซต์ต่างๆที่สามารถเข้าไปดู ค้นหา หรือนำมาใช้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือแบบเสียก็มี แต่ก็จะมีคุณภาพและแปลกตากว่า สอนเรื่องของการละเมิดลิขสิทธิ์ของฟอนต์ วิดีโอลิ้งต่างๆที่เป็นแบบการเรียนการสอนทั้งของอาจารย์เองและวิดีโอของอาจารย์ท่านอื่นๆ

งานการบ้านที่อาจารย์สั่ง
-สมัคร Gmail
-สมัคร Blogger
-ของ Email ของจันทรเกษม
-หาแบบฟอนต์ภายในมหาวิทยาลัยราชถัฏจันทรเกษมมาและนำมาวิจารณ์ว่าฟอนต์นั้นๆเป็นประเภทไหน ชื่อฟอนต์ รูปแบบการใช้งาน 
-สรุปว่าฟอนต์คืออะไร เลสเตอร์ลิ่งคืออะไร



เว็บไซต์ของ อาจารย์ ประชิด ทิณบุตร

อ้างอิงจาก:http://www.chandrakasem.info/

วิดีโอที่ข้าพเจ้าได้ลองศึกษาเกี่ยวกับฟอนท์




อ้างอิงจาก:https://www.youtube.com/watch?v=diSNN4o9QyI

วิจารณ์ฟอนท์ที่อยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม




     เป็นป้ายเชิญชวนให้อาจารย์ในมหาวิทยาลัยออกมาออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ใช้ฟอนท์ที่เป็นกันเองดูสบายๆไม่เป็นทางการหรือกดดันมากเกินไป เรียบง่าย ดูแล้วเหมือนกำลังถูกเชิญชวนให้มาออกกำลังกายกันนะ

ความรู้เรื่องฟอนท์

     ฟอนท์ (Font)   หรือรูปแบบตัวอักษรมีอยู่มากมายในวินโดว์ส์ การเลือกใช้งานฟอนท์นั้นขึ้นอยุ่กับความเหมาะสม ในแต่ละเอกสาร  คุณมักจะเห็นว่าในเอกสารเดียวกันนั้นมีการใช้ฟอนท์มากกว่า 1 รูปแบบเสมอ ฟอนท์ทุก ๆ ฟอนท์จะมีชื่อประจำตัวอยู่ เช่น Aril, CordiaUPC, JasmineUPC เป็นต้น ฟอนท์บางฟอนท์เป็นฟอนท์สากล คือ รู้จักกันอย่างแพร่หลาย แต่ฟอนท์หลาย ๆ ฟอนท์นั้นอาจรุ้จักในวงจำกัดเพราะฟอนท์ดังกล่าวได้ถูกออกแบบไว้ ใช้สำหรับภาษาที่ใช้ในแต่ละประเทศ ตัวอย่างเช่น ฟอนท์ในตระกูล DB หรือ ฟอนท์ที่ลงท้ายด้วย UPC ฟอนท์เหล่านี้เป็นฟอนท์ที่ถูกสร้างให้รองรับการใช้งานกับภาษาไทย เป็นต้น

อ้างอิงจาก:http://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it03/font.htm



ความแตกต่างของไทป์เฟซกับฟอนท์

บุคคลทั่วไปมักใช้คำว่า ฟอนต์ (font/fount) เรียกแทนไทป์เฟซ หรือใช้เรียกสลับกัน แต่ในความจริงแล้วมีความหมายที่แตกต่างกัน ไทป์เฟซหมายถึงชุดตัวอักษรที่มีรูปแบบเดียวกัน ไม่ว่าจะมีขนาดใหญ่เล็กเท่าไร เช่น Arial, Arial Bold, Arial Italic และ Arial Bold Italic ต่างเป็นไทป์เฟซคนละชนิดกัน ส่วนฟอนต์จะหมายถึงชุดตัวอักษรที่มีทั้งไทป์เฟซและขนาดเดียวกัน ตัวอย่างเช่น Arial 12 พอยต์ก็เป็นฟอนต์หนึ่ง Arial 14 พอยต์ก็เป็นฟอนต์หนึ่ง Arial Bold 14 พอยต์ก็เป็นอีกฟอนต์หนึ่ง เป็นต้น ในการสร้างเอกสารแบบดิจิทัล ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนขนาดฟอนต์ได้เองในคอมพิวเตอร์ ทำให้ความแตกต่างของไทป์เฟซกับฟอนต์จึงลดความสำคัญลงไป
สำหรับตระกูลหรือสกุลของตัวอักษร (font/type family) มีความหมายกว้างกว่าไทป์เฟซ กล่าวคือ แบบตัวอักษรชื่อเดียวกันที่อาจมีรูปแบบต่างๆ กัน ถือเป็นแบบอักษรตระกูลเดียวกัน โดยปกติจะมี 4 รูปแบบคือ roman, italic, bold, bold italic แบบอักษรบางตระกูลอาจมี narrow, condensed หรือ black อยู่ด้วยก็ได้ ดังนั้น Arial, Arial Bold, Arial Italic และ Arial Bold Italic ทั้งหมดเป็นแบบอักษรในตระกูล Arial ในขณะที่ Helvetica หรือ Courier ก็เป็นอีกตระกูลหนึ่ง